ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดทำสาระหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ผู้วิจัย นางวาสนา คุณาอภิสิทธิ์
ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา
คณครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2547
ได้มีการปรับเปลี่ยนขั้นตอนการจัดทำสาระหลักสูตรของกรมวิชาการ โดยการสลับใบงานและได้ออกแบบบางขั้นตอนและบางใบงานเพิ่มเข้าใบ แลนำไปทดลองใช้กับครูผู้สอนไปใช้ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา จัดโดยสมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทย ที่จังหวัดขอนแก่น เมื่อต้นปี 2546 มีครูเข้ารับการอบรมกว่า 300 คน
รูปแบบที่พัฒนาขึ้นใหม่ มี 9 ใบงาน 9 ขั้นตอน ดังนี้
ใบงานที่ 1 การวืเคราะห์ความสำคัญระหว่างมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นกับสาระการเรียนรู้ช่วงชั้น
ใบงานที่ 2 การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นเป็นสาระการเรียนรู้รายปี/รายภาค
ใบงานที่ 3 การกำหนดสาระการเรียนรู้รายปี/รายภาค
ใบงานที่ 4 การกำหนดผลการเรียนรู้รายปี/รายภาค
ใบงานที่ 5 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและสาระการเรียนรู้รายปี/รายภาค
ใบงานที่ 6 การจัดทำคำอธิบายรายวิชา
ใบงานที่ 7 การออกแบบหน่วยการเรียนรู้
ใบงานที่ 8 การจัดทำหน่วยการเรียนรู้
ใบงานที่ 9 การจัดทำแผนการเรียนรู้รายชั่วโมง
มีการสร้างรูปแบบหรือโปรแกรมการพัฒนาครู 3 ขั้นตอน คือ
1.การใช้การอบรมเชิงปฏิบัติการ 3 วัน ใช้การฝึกอบรมแบบใช้โรงเรียนเป็นฐาน
2.การนิเทศติดตามผลระหว่างภาคเรียน
3.การประชุมสัมนา 1 วัน
นอกจากนี้ ได้มีการจัดทำแบบประเมินผลไว้ 5 รูปแบบด้วยกันคือ
1.แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ 3 ตัวเลือก
2.แบบประเมินความสามารถในการจัดทำหลักสูตร
มีลักษณะเป็นตารางหรือมาตรประมาณค่าชนิดกำหนดเกณฑ์และมาตรฐานการให้คะแนน 3 ระดับ
3.แบบประเมินเจตคติที่เกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และรูปแบบการจักทำสาระหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 3 ระดับ
4.แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้
มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ
5.แบบประเมินเจตคติที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดทำสาระหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 3 ระดับ
ผลที่ได้ปรากฎว่า ครูผู้สอนมีประสิทธิผลในด้านความรู้ ความสารถ และเจตคติไปในทิศทางที่ดีขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น